สามารถเข้าไปดูเครื่องชาร์จที่เหมาะสมกับรถของคุณได้ที่
Newsroom >> Find your chargers >> เลือกรถยนต์ไฟฟ้าของคุณ
หากไม่พบข้อมูล สามารถหาเครื่องชาร์จที่เหมาะกับการใช้งานของได้โดยดูจากขนาดของ on-board charger (หน่วย kW) ของรถยนต์ของคุณ
ตัวอย่างเช่น
on-board charger = 7.2 kW >> ควรเลือกใช้เครื่องชาร์จขนาด 7.4 kW (เพราะหากซื้อขนาด kW ที่มากกว่า 7.4 นั้นก็จะไม่สามารถชาร์จได้เร็วขึ้น เนื่องจากความเร็วในการชาร์จขึ้นอยู่กับ on-board charger]
แต่ถ้าหากในอนาคตคุณมีแผนที่จะซื้อรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100% [on-board charger มากกว่า 11 kW ขึ้นไป ] ควรซื้อเครื่องชาร์จรุ่น 22 kW เนื่องจาก
1. การเดินสายไฟของเครื่องชาร์จเป็นแบบไฟ 3 เฟส ขนาดสายไฟรองรับการจ่ายไฟในกระแสสูงๆ ได้
2. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟใหม่
3. ในอนาคตขนาด on-board ของรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกพัฒนาให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น เพื่อให้สามารถชาร์จไฟใส่แบตเตอรี่ที่ขนาดใหญ่ได้เต็มเร็วมากขึ้น
ชาร์จรถ 1 ครั้งใช้เวลานานเท่าไหร่?
ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ (kWh), ขนาด on-board charger (kW), ขนาดกำลังการจ่ายไฟของเครื่องชาร์จ (kW)
ข้อมูลที่ต้องทราบเพื่อการคำนวณ
1. ขนาด battery capacity (หน่วย kWh)
2. ขนาด on-board charger (หน่วย kW)
ตัวอย่างเช่น
รถ Mercedes Benz รุ่น E 300e (PHEV)
Battery Capacity : 13.5 kWh
On-board charger : 7.2 kW
จะสามารถชาร์จแบตเตอรี่ที่เหลือ 15% เต็มภายใน = 13.5(0.85) / 7.2 =1 ชั่วโมง 40นาที
หมายเหตุ
- การจ่ายไฟจากเครื่องชาร์จจ่าย (kW) เช่น 7.4kW การรับไฟของ on-board charger (kW) เช่น 3.7 kW : ไฟที่เข้าและจำนวนชั่วโมงในการชาร์จจะถูกจำกัดที่ on-board charger ที่ 3.7 kW
- การจ่ายไฟจากเครื่องชาร์จจ่าย (kW) เช่น 7.4kW การรับไฟของ on-board charger (kW) เช่น 22 kW : ไฟที่เข้าและจำนวนชั่วโมงในการชาร์จจะถูกจำกัดการจ่ายไฟของเครื่องชาร์จ ที่ 7.4 kW
การชาร์จ 1 ครั้งเสียค่าไฟเท่าไหร่?
ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า หากขนาดของแบตใหญ่ค่าไฟในการชาร์จต่อครั้งก็จะยิ่งมาก แต่ก็สามารถวิ่งได้นานขึ้น โดยก่อนที่จะซื้อรถ สามารถสอบถามขนาดแบตเตอรี่จากพนักงานขายและคำนวณค่าใช้จ่ายในการชาร์จต่อครั้งง่ายๆ ตามวิธีในการคำนวนด้านล่างนี้เลย
วิธีในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าต่อการชาร์จ 1 ครั้งสามารถคำนวนคร่าวๆ ได้ดังนี้
สมมติ
ราคาค่าไฟหน่วยละ 4 บาท
ขนาดแบตเตอรี่ 13.5 kWh
ดังนั้นค่าไฟในการชารจ์จากแบตหมดจะเต็ม/ครั้ง = 13.5 kwh x 4 บาท = 54 บาท
สำหรับรถ PHEV (on-board charger น้อยกว่า 7.4 kW) ทางทีมงานแนะนำให้เปลี่ยนเป็น 1 เฟส 30/100 A เป็นอย่างต่ำ
หากไม่เพิ่มขนาดมิเตอร์ก็สามารถใช้งานได้โดย
1.ปรับเปลี่ยนการใช้ไฟในสถานที่ติดตั้งลงในขณะที่ชาร์จรถ เช่นจากที่เคยเปิดแอร์ 2 ตัวพร้อมกัน จะเปิดได้เพียงแค่ 1 ตัว เพื่อให้ใช้ศักยภาพของเครื่องชาร์จได้เต็มที่ มิเช่นนั้นจะเกิดปัญหาเรื่องไฟไม่พอ
2. ลดกำลังไฟในการชาร์จลงและใช้เวลาชาร์จนานขึ้น
สำหรับรถ EV [on-board chager มากกว่า 7.4 kW] ควรเปลี่ยนเป็น 3 เฟส 30/100 A จะดีที่สุด เพื่อให้คุณสามารถใช้ไฟได้อย่างปกติและใช้ศักยภาพเครื่องชาร์จได้อย่างเต็มที่
ขั้นตอนการขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้ามีดังนี้
1. ติดต่อไปที่ผู้ให้บริการไฟฟ้าที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่ของท่าน
2. ติดต่อช่างไฟฟ้าในอาคารที่ท่านให้ความไว้ใจเพื่อดำเนินการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการใช้ไฟในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
3. ทางการไฟฟ้าจะมาตรวจสอบเพื่ออนุมัติการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าให้ท่าน
แนวทางในการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน
A. การเปลี่ยนสายไฟในบ้านทั้หมดเพื่อรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตัวอย่าง มาตรฐานของการเปลี่ยนมิเตอร์ตามที่ MEA กำหนดมีดังนี้
1. การเดินสายไฟจากมิเตอร์ มายังแผงควบคุมวงจร (ค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟจะตามระยะทางจากมิเตอร์มายังแผงควบคุมวงจรหลักนะคะ)
2. การเปลี่ยนขนาดของตู้ main breaker (หากขนาดตู้ในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการรองรับ breaker ย่อยที่จะเพิ่มขึ้น)
3. การเพิ่มขนาดของสายดิน
4. ติดตั้งเต้ารับ 3 ขา (ตามมาตรฐานของ กฟน. จำเป็นจะต้องติดตั้ง หากมีการติดตั้งอยู่แล้วก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ค่ะ)
ราคาค่าบริการในการเตรียมการเปลี่ยนมิเตอร์ (ราคาที่แสดงนี้คือราคาประมาณการจากผู้ให้บริการที่การไฟฟ้าแนะนำ หากท่านมีช่างในอาคารที่รู้ใจ ก็สามารถให้ช่างของท่านปรับเปลี่ยนตามมาตรฐานข้างต้นที่การไฟฟ้ากำหนดไว้ได้เช่นกัน ราคาก็จะถูกค่าบริการก็จะถูกลง)
1. สำหรับ เปลี่ยนมิเตอร์จาก 1 เฟส 15/45 เป็น 30/100 ราคาประมาณ 30,000 - 40,000 บาท (ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการทำงานและค่าอุปกรณ์นะคะ)
2. สำหรับ เปลี่ยนจาก 1 เฟส เป็น 3 เฟส ค่าใช้จ่ายประมาณ 60,000 บาท ขึ้นไป
B. การเดินสายจากมิเตอร์ไฟฟ้ามาถึงจุดติดตั้งโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนสายไฟในบ้าน >> ทาง EGAT+Wallbox มีบริการเสริมในการเดินสายไฟจากมิเตอร์มาที่จุดติดตั้งในบ้านของท่าน ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่นี้
หากคุณกำลังสร้างบ้านและต้องการให้ช่างเดินสายไฟมาตรงจุดติดตั้งเลยเพื่อความสวยงาม ทางทีมงานขอแนะนำให้เตรียมความพร้อมดังนี้
1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่แนะนำ : 3 phase 30/100A (สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต)
2. ขนาดสายไฟที่เดินมาที่จุดติดตั้ง :
สำหรับติดตั้งเพื่อรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน = 6 Sq.mm (หากสถานที่ติดตั้งอยู่ไกลจาก main breaker เกิดกว่า 30 เมตร จะต้องเพิ่มขนาดสายไฟเป็น 10 sq.mm เพื่อให้สายไฟนำไฟฟ้ามาถึงจุดติดตั้งได้อย่างเพียงพอ เพราะความยาวสายที่มากจะมี lost ในระบบมาก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องเพิ่มขนาดสายไฟให้ใหญ่ขึ้น
สำหรับการติดตั้งเพื่อรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 2 คัน = 16 sq.mm
3. Main Breaker : เตรียมช่องสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไว้ 3 pole
สรุปความแตกต่างของเครื่องชาร์จ wallbox สำหรับติดตั้งที่บ้านและหน่วยงานธุรกิจ ดังนี้
ผลิตภัณฑ์ Wallbox นั้นมีทั้งแบบ การชาร์จปกติ (Normal charge) และ การชาร์จเร็ว (Fast Charge) ซึ่งทั้ง 2 แบบไม่ส่งผลต่อความเสื่อมของแบตเตอรี่ สิ่งที่ส่งผลให้แบตเตอรี่เสื่อมการใช้งานลงก่อนเวลาอันควร คือ
Wifi อาจไม่จำเป็นในการชาร์จ เพียงแค่เสียบสายชาร์จเข้ากับรถก็สามารถชาร์จรถได้ตามปกติ แต่ Wifi นั้นมีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในการชาร์จรถของคุณลูกค้า เนื่องจาก Wifi นั้นจะทำหน้าที่เชื่อมต่อและส่งต่อข้อมูลระหว่างเครื่องชาร์จกับ myWallbox Application เพื่อสั่งการเครื่องชาร์จให้ทำงาน ควบคุมการทำงานของเครื่องชาร์จทั้งหมด ตั้งเวลาในการชาร์จ ตั้งกระแสไฟในการชาร์จ ดูการทำงานของเครื่องชาร์จแบบ real time จากที่ไหนก็ได้ เพียงแค่เสียบสายชาร์จไว้กับรถ (หากเป็น bluetooth จะสามารถทำ function ต่างๆ ด้านบนได้เมื่อยู่ใกล้เครื่องชาร์จเท่านั้น)
Wallbox ทุกรุ่นสามารถติดตั้งและชาร์จในขณะที่ฝนตกได้ ตัวเครื่องและสายชาร์จสามารถโดยน้ำได้ แต่ไม่ควรให้หัวชาร์จโดนน้ำ เพราะจะทำให้สายชาร์จชื้นส่งผลให้อายุการใช้งานของสายชาร์จลดลง ทางที่ดีเมื่อมีการเลิกใช้งานเครื่องชาร์จแล้วควรนำหัวชาร์จเก็บเข้าที่จัดเก็บหัวชาร์จให้เรียบร้อย หรือนำปลอกหัวชาร์จมาปิดเพื่อยืดอายุการใช้งานของหัวชาร์จค่ะ นอกจากนี้ทางผู้เชี่ยวชาญจะทำการติดอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดและเดินสาย ground ให้อยู่แล้วเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
wallbox ทุกรุ่นสามารถกันน้ำและฝุ่นได้ (IP 54) โดยได้รับการทดสอบแล้วจากห้อง lab ของ wallox ในต่างประเทศ โดยการนำผลิตภัณฑ์ไปแช่น้ำและทำการชาร์จไฟเข้ารถยนต์สามารถใช้งานได้ ตามรายละเอียดในคลิปนี้
ราคาที่แสดงนั้นคือราคา package ที่รวมค่าสินค้าและบริการดังนี้
EGAT+Wallbox ไม่มีบริการปรับเปลี่ยนขนาดสายไฟภายในบ้านเพื่อรองรับการเปลี่ยนขนาดมิเตอร์นะคะ
แต่มีบริการที่เดินสายจากมิเตอร์มาที่จุดติดตั้งเครื่องชาร์จโดยตรง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนสายไฟในบ้านนะคะ โดยจะมี package เพิ่มเติมให้เลือกตามความต้องการของลูกค้า สามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่
เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าจะมีการเดินสาย Line, Neutral, Ground และติดตั้ง External RCD type A ใหม่ เป็นมาตรฐานการติดตั้งสำหรับทุกเครื่อง
สามารถติดต่อทีมงานได้ที่
Call center : 093 026 8446
Line OA : @egatwallbox